รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ดีเอ็กซ์ 50 หมายเลข 943, 950, 953 และ 962 ของ เจเอ็นอาร์ คลาสดีเอ็กซ์ 50

เดิมใช้การใช้การบนเส้นทางรถไฟสายเหนือ ประจำการแขวงอุตรดิตถ์ รถจักรไอน้ำเริ่มทำขบวนตั้งแต่สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ไปสถานีรถไฟเชียงใหม่ ส่วนใหญ่จะทำขบวนรถสินค้าและรถด่วนพิเศษไปถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่ บางครั้งก็ทำขบวนรถโดยสารจากสถานีรถไฟกรุงเทพด้วย หลังจากที่การรถไฟฯ ได้เลิกใช้รถจักรไอน้ำทำขบวนรถโดยสารและรถสินค้าไปเมื่อปี พ.ศ. 2520 รถจักร 3 คันนี้ได้ปลดระวางเลิกใช้การเข้ามานอนจอดสงบนิ่งอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี รางข้างโรงรถจักรจอดอยู่คันในสุดของรถจักรรวม 4 คันในรางนี้ ตั้งแต่วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2517 ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2528 ทางการรถไฟฯมีแนวคิดที่จะฟื้นฟู บูรณะรถจักรไอน้ำขึ้นจำนวน 6 คันแบ่งเป็นรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ดีเอ็กซ์ 50 2 คันคือ 953 และ 962 รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค ซีเอ็กซ์ 50 2 คันคือ 824 และ 850 และรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นโมกุล ซี 56 หมายเลข 713 และ 715  โดยศูนย์กลางซ่อมอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี ในยุคที่นายสวัสดิ์ ม้าไว เป็นสารวัตรรถจักรธนบุรี โดยการขับเคลื่อนของนายช่าง สุเมธ หนูงาม ตำแหน่งวิศวกรอำนวยการลากเลื่อนในขณะนั้น ท่านได้ระดมอุปกรณ์อะไหล่ที่เก็บไว้ที่ โรงรถจักรทุ่งสง และโรงรถจักรอุตรดิตถ์ พร้อมช่างฝีมือจากทุ่งส่งจำนวน 4 นาย มาร่วมกับช่างฝีมือที่ธนบุรีเพื่อ พร้อมซ่อมบูรณะรถจักรไอน้ำดังกล่าวข้างต้น การซ่อมรถจักรไอน้ำในครั้งนั้นใช้เวลาซ่อมจำนวน 4 เดือนจึงสามารถทำการทดลองวิ่งตัวเปล่ารถจักร 962 และ 953  จาก ธนบุรี - วัดงิ้วราย - ธนบุรี ในวันที่ 10 มีนาคม 2529 และทำการทดลองเดินขบวนเปล่าจำนวนตู้โดยสาร 10 ตู้ในวันที่ 13 มีนาคม 2529 สำหรับรถจักร 824 และ 850 ซ่อมเสร็จทำการทดลองวิ่งตัวเปล่าจาก ธนบุรี - วัดงิ้วราย - ธนบุรี ในวันที่ 19 มีนาคม 2529 และทำการทดลองเดินขบวนเปล่าจำนวนตู้โดยสาร 8 ตู้ในวันที่ 22 มีนาคม 2529  ต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม 2529 เป็นเป็นวันคล้ายวันสถาปนาการรถไฟแห่งประเทศไทยครบรอบ 90 ปีในครั้งนั้น การรถไฟฯ จึงจัดรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ดีเอ็กซ์ 50 หมายเลข 953 พหุกับ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ดีเอ็กซ์ 50 หมายเลข 962 เดินขบวนพิเศษจากสถานีกรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ นับเป็นครั้งแรกที่มีการเดินรถจักรไอน้ำในโอกาสพิเศษ และเป็นการเดินรถจักรไอน้ำครั้งแรกหลังจากที่ปลดระวางไปตั้งแต่ปี 2517 เป็นระยะเวลา 12 ปี ซึ่งได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนสองข้างทางรถไฟอย่างมากมาย พนักงานขับรถจักรไอน้ำในครั้งนั้น คือนายชำนาญ ล้ำเลิศ (เสียชีวิตแล้ว) นายกุล มณีกุล (เสียชีวิตแล้ว) ต่อมาได้บูรณะรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ดีเอ็กซ์ 50 เพื่อทำการเดินขบวนรถจักรไอน้ำนำเที่ยวที่ 901 จากสถานีรถไฟกรุงเทพไปยังสถานีรถไฟอยุธยา ในวันที่ 26 มีนาคม 2529 รถจักรไอน้ำทุกคันที่มีการซ่อม ได้ดัดแปลงระบบไฟฟ้า ห้ามล้อ และเครื่องยนต์ของรถจักร Henschel เพื่อต่อพหุ จนเป็นเหตุให้รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ดีเอ็กซ์ 50 หมายเลข 962 กลายเป็นรถจักรอนุสรณ์อยู่ที่อุทยานประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 ในอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ตั้งแต่นั้นมา รถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 จึงเหลือใช้การ 1 คันคือหมายเลข 953 ซึงจะใช้ทำขบวนในวันสำคัญต่างๆ โดยปัจจุบันนี้ รถจักรไอน้ำหมายเลข 953 อยู่ในระหว่างการรอซ่อมแซมในระยะยาว

ส่วนรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด ดีเอ็กซ์ 50 หมายเลข 943 เมื่อการรถไฟฯ ได้เลิกใช้รถจักรไอน้ำทำขบวนรถโดยสารและรถสินค้าไปเมื่อปี พ.ศ. 2520 รถคันนี้ถูกลากลงมาจากแขวงอุตรดิตถ์เมื่อปี พ.ศ. 2529 แล้วนำไปจอดที่อนุสรณ์ไว้ที่สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ในเขตจตุจักร, กรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจเอ็นอาร์ คลาสดีเอ็กซ์ 50 http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Foru... http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Foru... http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Foru... http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Foru... http://www.tiewplearn.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8... https://gtaforums.com/topic/927743-historical-rail... https://photobucket.com/gallery/user/chayain/media... https://photobucket.com/gallery/user/chayain/media... https://photobucket.com/gallery/user/chayain/media...